หลักสูตร/โปรแกรม

ทฤษฎีในการเรียนรู้

ทฤษฎี การเรียนรู้และความเชื่อทางการศึกษา
ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านต้นไม้

โรงเรียนสามภาษาบ้านต้นไม้ได้นำแนวทางการเรียนรู้แบบประสบการณ์ตรง (Learning by Doing) โดยใช้ระบบการเรียนการสอนที่ลอดคล้องกับทฤษฎีการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ดังต่อไปนี้ Montessori, Waldorf, Multiple Intelligence, Creative Training Package, and Subject oriented base on hands on activities เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ในทุกด้านของนักเรียน ทั้งในด้าน ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง การเรียบรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ตรง โดยที่ครูมีบทบาทในการทำให้การเรียนรู้เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความสุขและ ความหมายสำหรับผู้เรียน

"Learning By Direct Experience and We make learning a happy experience"

ทุกห้องเรียนของโรงเรียนสามภาษาบ้านต้นไม้ได้รับการออกแบบตามหลักการทฤษฎีของมอนเตสซอรี่เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างเต็มที่ โดยมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาทักษะต่างๆ ตามหลักการของมองมอนเตสซอรี่

วิธีการเรียนการสอน

Applied Montessori

การเรียมการสอนแบบ Applied Montessori ในชั้นอนุบาลมุ่งเน้นการผ่านประสบการณ์ตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การมอง, การฟัง, การชิม, การดม, และการสัมผัส

Waldorf (วอลดอร์ฟ)

การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติและ องค์ประกอบจากธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการของเด็กๆ

ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence)

ทฤษฎีพหุปัญญาได้รับการพัฒนาโดย Howard Gardner นักจิตวิทยาชื่อดังซึ่งได้เสนอแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ ไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว แต่ประกอบไปด้วยหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน

Workboard (วอร์คบอร์ด)

การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติและ องค์ประกอบจากธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการของเด็กๆบ้านต้นไม้ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมวอร์คบอร์ดในการจัดกิจกรรมที่เด็กๆ สามารถเลือกเรียนรู้จากตัวเลือกที่ครูเตรียมไว้ในแต่ละสถานี โดยแบ่งกลุ่ม เด็กๆ ไม่เกิน 8-10 คนต่อกลุ่ม

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

กิจกรรมเสริมหลักสูตรในโรงเรียนสามภาษาบ้านต้นไม้ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและความสนใจของนักเรียนในด้านต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือจากหลักสูตรหลัก โดยเน้นการเรียนรู้ที่ หลากหลายและสามารถปรับตัวได้ตามความสนใจของเด็กๆ เช่น กิจกรรมด้านศิลปะ, กีฬา, ดนตรี, และการพัฒนาทั กษะทางสังคม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา

กิจกรรมหลังเลิกเรียน

กิจกรรมเดือนตุลาคม

กิจกรรมภาคฤดูร้อน

หน่วยการเรียนรู้

อาจารย์ชนัตฐา ชินสุภัคกุล ได้นำหลักสูตรและเทคนิคการสอนจากสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่าง Integrated Teaching Approach, Thematic-Based Learning, และ Project-Based Learning เพื่อสร้างการเรียนการสอนที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบการเรียนการสอนจะจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ โดยครูเจ้าของภาษาผู้มีประสบการณ์เป็นผู้สอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้หัวข้อที่สำ คัญและสอดคล้องกับชีวิตจริง ซึ่งช่วย
ให้เด็กๆ เข้าใจเนื้อหาลึกซึ้งและสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้ Thematic-Based Learning ที่เชื่อมโยงเนื้อหาหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน เช่น ภาษา ศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการศึกษาทางสังคม เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากหลายมุมมอง พร้อมทั้งนำ Project-Based Learning มาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง โดยนักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในโครงการที่ท้าทายและเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง และทำงานร่วมกันในกลุ่ม

การใช้ Integrated Teaching Approach ทำให้เนื้อหาที่สอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้เชื่อมโยงและสอดคล้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านพัฒนาการทางปัญญา ทักษะชีวิต และการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำ เป็นสำหรับชีวิตประจำวัน โดยกระบวนการเรียนรู้จะเน้นการพัฒนาเด็กให้มีความเข้าใจที่ถ่องแท้และลึกซึ้ง และสามารถนำ ความรู้ที่ ได้ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิผล

โครงสร้างหลักสูตร

ปีการศึกษาหนึ่งประกอบด้วย 2 เทอม คือ เทอมต้น (18 สัปดาห์) และเทอมปลาย (18 สัปดาห์)
ในแต่ละวันมีการเรียนรู้ประมาณ 7 คาบ คาบละ 40 นาที

เทอมต้น

เทอมปลาย

ระดับอนุบาล 1 (K1):

เน้นกิจกรรมพัฒนาความพร้อมทางการเรียนรู้
และทักษะต่างๆ โดยมีจำนวนคาบเรียน 4 คาบต่อวัน
และพักผ่อน 3 คาบ

ระดับอนุบาล 2 – 3 (K2 – K3):

เน้นกิจกรรมพัฒนาความพร้อมทางการเรียนรู้
และทักษะต่างๆ โดยมีจำนวนคาบเรียน 5 คาบต่อวัน
และพักผ่อน 2 คาบ

สัดส่วนแต่ละภาษา

ในด้านการใช้ภาษา การเรียนการสอนจะถูกปรับให้มีการใช้ภาษาไทย, จีน และ อังกฤษร่วมกันอย่างสมดุลตามหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่หลากหลายและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำ วันของเด็กๆ ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม